เมนู

มหาโกฏฐิตเถราปทานที่ 7 (537)



[127] ในแสนกัปนับจากภัทรกัปนี้ไป
พระพิชิตมารพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้รู้แจ้ง
โลกทั้งปวง เป็นมุนีมีจักษุ ได้เสด็จอุบัติขึ้น
แล้ว
พระองค์ตรัสสอน ทรงแสดงให้สัตว์รู้
ชัดได้ ทรงยังสรรพสัตว์ให้ข้ามวัฏสงสาร ทรง
ฉลาดในเทศนา เป็นผู้เบิกบาน ทรงช่วยให้
ประชุมชนข้ามพ้นไปเสียเป็นอันมาก
พระองค์เป็นผู้อนุเคราะห์ ประกอบด้วย
พระกรุณา แสวงหาประโยชน์ให้สรรพสัตว์ ยัง
เดียรถีย์ที่มาเฝ้าให้ดำรงอยู่ในเบญจศีลได้ทุกคน
เมื่อเป็นเช่นนี้ พระศาสนาจึงไม่มีความ
อากูล ว่างสูญจากเดียรถีย์ วิจิตรด้วยพระอรหันต์
ผู้คงที่มีความชำนิชำนาญ
พระมหามุนีพระองค์นั้น สูงประมาณ
58 ศอก พระฉวีวรรณงามคล้ายทองคำอันล้ำค่า
มีพระลักษณะอันประเสริฐ 32 ประการ
ครั้งนั้นอายุของสัตว์แสนปี พระชินสีห์
พระองค์นั้น เมื่อดำรงพระชนม์อยู่ โดยกาล

ประมาณเท่านั้น ได้ทรงยังประชุมชนเป็นอันมาก
ให้ข้ามพ้นวัฏสงสารไปได้
ครั้งนั้น เราเป็นพราหมณ์ผู้เรียนจบ
ไตรเพท ชาวพระนครหังสวดี ได้เข้าไปเฝ้า
พระพุทธเจ้าผู้เลิศกว่าโลกทั้งปวง แล้วสดับพระ-
ธรรมเทศนา
ครั้งนั้น พระธีรเจ้าพระองค์นั้น ทรง
ตั้งสาวกผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ฉลาดในอรรถ
ธรรม นิรุตติและปฏิภาณ ในตำแหน่งเอตทัคคะ
เราได้ฟังดังนั้นแล้วก็ชอบใจ จึงได้นิมนต์พระ-
ชินวรเจ้าพร้อมด้วยพระสาวก ให้ครองผ้าแล้ว
ถึง 7 วัน
ในกาลนั้น เรายังพระพุทธเจ้าผู้เปรียบ
ด้วยสาคร พร้อมทั้งพระสาวก ให้ครองผ้าแล้ว
หมอบลงแทบบาทมูล ปรารถนาฐานันดรนั้น
ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าผู้เลศกว่าโลกได้
ตรัสว่า จงดูพราหมณ์ผู้สูงสดที่หมอบอยู่แทบเท้า
ผู้นี้มีรัศมีเหมือนกลับดอกบัว พราหมณ์นี้ปรารถนา
ตำแหน่งแห่งภิกษุผู้แตกฉาน ซึ่งเป็นตำแหน่ง
ประเสริฐสุด เพราะการบริจาคทานด้วยศรัทธา
นั้นและเพราะการสดับพระธรรมเทศนา


พราหมณ์นี้จักเป็นผู้ถึงสุขในทุกภพ เที่ยว
ไปในภพน้อยภพใหญ่ จักได้สมมโนรถเช่นนี้
ในกัปนับแต่นี้ขึ้นไปแสนหนึ่ง พระ-
ศาสดามีพระนามชื่อว่าโคดม ซึ่งสมภพในวงศ์
พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก
พราหมณ์นี้จักเป็นธรรมทายาทของพระ-
พราหมณ์นี้จักเป็นธรรมทายาทของพระ-
ศาสดาพระองค์นั้น จักเป็นโอรสอันธรรมเนรมิต
เป็นสาวกของพระศาสดา มีนามชื่อว่า โกฏฐิตะ
เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว เป็น
ผู้เบิกบาน มีใจยินดี บำรุงพระชินสีห์เจ้าตราบ
เท่าสิ้นชีวิต ในกาลนั้น เพราะเราเป็นผู้มีสติ
ประกอบด้วยปัญญา ด้วยผลของกรรมนั้น
และด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์
แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
เราได้เสวยราชสมบัติ ในเทวโลก 300
ครั้งได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ 500 ครั้งและได้เป็น
พระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณนานับมิได้
เพราะกรรมนั้นนำไป เราจึงเป็นผู้ถึงความสุขใน
ทุกภพ
เราท่องเที่ยวไปแต่ในสองภพ คือใน
เทวดาและมนุษย์ คติอื่นเราไม่รู้จัก นี้เป็นผล
แห่งกรรมที่สั่งสมไว้ดีแล้ว

เราเกิดแต่ในสองสกุล คือสกุลกษัตริย์
และสกุลพราหมณ์ หาเกิดในสกุลต่ำทรามไม่ นี้
เป็นผลแห่งกรรมที่สั่งสมไว้ดีแล้ว
เมื่อถึงภพสุดท้าย เราเป็นบุตรของ
พราหมณ์ เกิดในสกุลที่มีทรัพย์สมบัติมาก ใน
พระนครสาวัตถี มารดาของเราชื่อจันทวดี บิดาชื่อ
อสัสลายนะ ในคราวที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำ
บิดาเรา เพื่อความบริสุทธิ์ทุกอย่าง
เราเลื่อมใสในพระสุคตเจ้า ได้ออกบวช
เป็นบรรพชิต พระโมคคัสลานะ เป็นอาจารย์
พระสารีบุตร เป็นอุปัชฌาย์
เราตัดทิฏฐิพร้อมด้วยมูลรากเสียได้ในเมื่อ
กำลังปลงผม และเมื่อกำลังนุ่งผ้ากาสาวะ ก็ได้
บรรลุพระอรหัต
เรามีปรีชาแตกฉานในอรรถ ธรรม นิรุตติ
และปฏิภาณ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เลิศกว่า
โลก จึงทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
เราอันท่านพระอุปติสสะไต่ถามในปฏิ-
สัมภิทา ก็แก้ได้ไม่ขัดข้อง ฉะนั้น เราจึงเป็น
ผู้เลิศในพระพุทธศาสนา

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน
ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระมหาโกฏฐิตเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.

จบมหาโกฏฐิเถราปทาน

537. อรรถกถามหาโกฏฐิกฺเถราปทาน

1

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
อปทานของท่านพระมหาโกฏฐิกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร
นาม ชิโน ดังนี้.
มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ? แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมา
แล้ว ในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระ-
นิพพานไว้เป็นอันมากในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระ ท่านได้บังเกิดในตระกูลที่มีโภคะมากในหังสวดีนคร บรรลุนิติ-
ภาวะแล้ว พอมารดาล่วงลับไปแล้ว ดำรงตำแหน่งกุฎุมพีอยู่ครองฆราวาส.
วันหนึ่งในเวลาที่พระมีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระทรงแสดงธรรม เขา
ได้มองเห็นชาวหังสวดีนคร ถือของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น ซึ่งกำลัง
นอบน้อม น้อมกายไปในที่เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า พระธรรม และ
พระสงฆ์จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมกับคนเหล่านั้นด้วย ได้เห็นภิกษุ
รูปหนึ่งซึ่งพระศาสดาทรงสถาปนาเธอไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าพวกภิกษุผู้บรรลุ

1. บาลีเป็น มหาโกฏฐิเตเถราปทาน